อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
NIZE SEASONINGS ไนซ ซีซันนิ่ง

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ก็สามารถรับประทานอาหารอร่อยได้ แต่ต้องเลือกเครื่องปรุงและวัตถุดิบให้เหมาะสม ที่สำคัญคือ เน้นอาหารที่ไม่เค็มจัด ไม่หวานจัด ไม่มัน ไม่ใส่ผงชูรส เราจึงอยากแนะนำ NIZE SEASONINGS ผงปรุงรสคลีน ผลิตจากธรรมชาติ 100 % ใส่เมนูไหนก็หอมอร่อย รสกลมกล่อมจากเครื่องเทศแท้ ๆ สูตรลับที่เราใส่ให้ทั้งหัวใจ ให้ทุกจานโปรดอร่อยไม่ทำร้ายคุณ สูตรลดโซเดียมลง 70 %, ไม่ใส่สารเคมีปรุงแต่ง กลิ่น สี รส , ไม่ใส่ผงชูรส  ไม่ใส่สารกันเสีย  หมัก ผัด โรย ทอด ซุป อร่อยปรุงง่าย  สบายใจ ไร้สารปรุงแต่งใด ๆ ปลอดภัยกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

และวันนี้ไนซผ่านเส้นทางความอร่อยมากกว่า 20 สูตร ให้คุณสุขทุกครั้งที่ทำ สนุกทุกครั้งที่เข้าครัว เพราะเราเชื่อว่าสุขภาพดีมาพร้อมรสชาติดีได้เสมอ ไม่ว่าคุณจะเลือกผลิตภัณฑ์ไนซชิ้นไหนจาก เวปไซต์ ของเรา นั่นคือของขวัญสุขภาพสุดพิเศษที่คุณได้มอบให้กับตัวเองและคนที่คุณรัก

Nize Seasonings ผงปรุงรสคลีน 100% เพื่อคนรักสุขภาพ

“เจ้าแรกในไทย” 

HAVE A NIZE LIFE,  HAVE A NIZE MEAL, FOR ALL THE DISHES YOU  LOVE 

สารบัญเนื้อหา

สินค้า
รีวิวลูกค้า
บทความ
สถานที่จำหน่าย

อาหารที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรทาน

  • ทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ไก่ ปลา และอาหารแคลเซียมสูง เช่น เต้าหู้ ผักใบเขียว
  • นมพร่องมันเยน เช่น โยเกิร์ต ไขมันต่ำ
  • เพิ่มผักและผลไม้ในอาหารทุกมื้อ
  • เครื่องปรุงสูตรลดโซเดียม ไม่ใส่ผงชูรส เลือกใช้ ผงไนซ ผงปรุงรสคลีน ผลิตจากธรรมชาติ 100 %

อาหารที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรทาน

  • งดอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม ควรงดการเติมเครื่องปรุงรส เช่น ผงชูรส ผงฟู
  • งดอาหารหมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาเค็ม
  • งดอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม
  • งดไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าวน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู

ทำไมถึงต้องใช้ NIZE ผงปรุงรสคลีน

  • หมัก. ผัด. โรย. ปรุงน้ำซุป
  • ลดน้ำตาล/ไม่มีน้ำตาล ลดโซเดียม
  • อร่อย ปรุงง่าย ประโยชน์อัดแน่น
  • ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ 100%
  • ไม่ใส่ผงชูรส ไม่ใส่สารกันเสีย
  • ไม่แต่งกลิ่นและสีสังเคราะห์ใดๆ
  • สถานที่ผลิตได้รับมาตรฐานรับรองจาก อย., ISO22000, GMP, HACCP

สอบถาม สั่งซื้อสินค้า คลิกเลย

“ผงปรุงรสคลีน NIZE ใส่ เมนูอาหารผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ก็อร่อย”

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ก็สามารถรับประทานอาหารอร่อยได้ แต่ต้องมีการควบคุมปริมาณเครื่องปรุงทุกอย่างให้พอเหมาะ ที่สำคัญคือ ลดน้ำตาลและลดโซเดียมลง เราจึงอยากแนะนำ NIZE SEASONINGS ผงปรุงรสคลีน ผลิตจากธรรมชาติ 100 % ใส่เมนูไหนก็หอมอร่อย รสกลมกล่อมจากเครื่องเทศแท้ ๆ สูตรลับที่เราใส่ให้ทั้งหัวใจ ให้ทุกจานโปรดอร่อยไม่ทำร้ายคุณ

– Nize Seasonings
healthy & Tasty

เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

วันนี้เราจะมาแนะนำเมนูสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรงขึ้น น้องไนซรับประกัน

Dinner

สลัดปลากระพงย่าง

สลัดปลากะพงย่าง ปลากะพงย่างหอมๆ โรยด้วย ไนซ์เกลือสีดำ และพริกไทยนิดหน่อย แค่นี้ก็อร่อยแล้วค่ะ

เครื่องปรุงไนซ เกลือสีดำ
Dinner

ปลาผัดขิง

😍🐟 ปลาผัดขิง หอมๆ 🐟 ทำเองง่ายๆ
ปรุงด้วยผงไนซ์ สูตรกลมกล่อม อร่อยมากๆ

ผงไนซ สูตรกลมกล่อม
Lunch

ยำไก่ย่าง

ยำไก่ย่าง ทำเองง่ายๆ ใช้ผงไนซ สูตรจิ๊ดจ๊าด เพิ่มขิงซอย ต้นหอม และ หอมแดงซอย คลุกๆ ให้เข้ากันแค่นี้ก็อร่อยแล้ว

ผงไนซ สูตรจี๊ดจ๊าด
ฺBreakfast

ข้าวผัดกระเทียมปลาแซลม่อน

ข้าวผัดกระเทียม ปลาแซลม่อน ปรุงด้วยผงไนซ สูตรกลมกล่อม และ ไนซ เกลือชมพูเล็กน้อย

ผงไนซ สูตรกลมกล่อม
Dinner

กระเพราไก่

กะเพราไก่หอมๆนัวร์ๆ มาเสิร์ฟจ้า เนื้อไก่นุ่มเข้าเนื้อสุดๆ เพียงหมักไก่ด้วยผงไนซ สูตรกลมกล่อม และซีอิ๊วเล็กน้อย หมักทิ้งไว้ แล้วนำลงผัด 💕

ผงไนซ สูตรกลมกล่อม
Breakfast

แซนวิชไก่หน้าเปิด

แซนวิชไก่หน้าเปิด หมักไก่ด้วยผงไนซ
สูตรต้นตำรับ และพริกไทย แค่นี้ก็อร่อยแล้วค่ะ

ผงไนซ สูตรต้นตำหรับ
Lunch

ผัดผักอกไก่

ผัดผักอกไก่ ทานคู่ไนซ์น้ำพริกคลีน ปรุงด้วย ผงไนซ สูตรกลมกล่อม อร่อยครบรส

ผงไนซ สูตรกลมกล่อม
DINNER

ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่บุกอกไก่

ก๋วยเตี๊ยวเส้นใหญ่บุกอกไก่🍲 น้ำซุปใช้ผงไนซ สูตรนำ้ซุป ส่วนตัวอกไก่หมักด้วยผงไนซ สูตรกลมกล่อม อร่อย ดีต่อใจ

ผงไนซ สูตรน้ำซุป

ผงปรุงรส เมนูอาหารผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

เครื่องปรุงอาหารสุขภาพ

สั่งซื้อสินค้า สอบถามเพิ่มเติม คลิกที่นี่

คลิปรีวิวจากลูกค้า

กลุ่มเมนูอาหารผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

วิธีรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงสามารถก่อให้เกิดปัญหากับหลอดเลือด นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง การควบคุมความดันโลหิตสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้ ซึ่งอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ สามารถปฏิบัติตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อช่วยควบคุมความดันโลหิต ร่วมกับการจำกัดโซเดียมในอาหาร มีแนวทางปฏิบัติดังนี้

1. จำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร

โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งพบได้ในอาหาร ซึ่งอาหารตามธรรมชาติจะมีโซเดียมอยู่ในปริมาณน้อย แต่อาหารแปรรูป สำเร็จรูป เบเกอรี่ และเครื่องปรุงต่าง ๆ จะมีโซเดียมปริมาณมาก ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงรสเค็ม เลี่ยงอาหารแปรรูป เลี่ยงการใช้ผงปรุงรส และเลี่ยงการซดน้ำซุปน้ำแกงต่าง ๆ รวมทั้งเลี่ยงอาหารรสจัด ผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาการทำงานของไตลดลงอาจเลือกใช้เครื่องปรุงลดโซเดียมได้

2. รับประทานข้าว ธัญพืชไม่ขัดสี

ปริมาณที่แนะนำคือ 6 – 8 ส่วน/วัน (เช่น ข้าวกล้อง 6 – 8 ทัพพี) เลือกแบบไม่ขัดสีเพื่อเพิ่มใยอาหาร ซึ่งใยอาหารจะช่วยลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือด จึงช่วยควบคุมไขมันในเลือด นอกจากนี้ใยอาหารยังช่วยให้อาหารอยู่ท้องได้นาน ทำให้ไม่หิวบ่อย ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้

3. เพิ่มผักในอาหารทุกมื้อ

ปริมาณแนะนำ 4 – 5 ส่วน/วัน (เช่น ผักสด 4 – 5 ถ้วยตวง) ในผักอุดมไปด้วยโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีผลช่วยควบคุมความดันโลหิต ควรเลือกผักให้หลากสีและหลากชนิด

4. รับประทานผลไม้

ปริมาณแนะนำ 4 – 5 ส่วน/วัน (ผลไม้ 6 – 8 ชิ้นคำ หรือผลเท่ากำปั้น 1 ผล เท่ากับ 1 ส่วน) ซึ่งผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึงโพแทสเซียมและแมกนีเซียมด้วย

5. รับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ

การเลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำจะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล ซึ่งจะพบมากในไขมันจากสัตว์ ไขมันเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดมากขึ้นได้ ส่งผลต่อการเพิ่มความดันโลหิต ปริมาณแนะนำ 6 ส่วน/วัน (เช่น เนื้อสัตว์ 12 ช้อนโต๊ะ/วัน)

6. รับประทานถั่วเปลือกแข็งและถั่วเมล็ดแห้ง

ปริมาณแนะนำ 4 – 5 ส่วน/สัปดาห์ (ประมาณ 4 – 5 กำมือ/สัปดาห์) เนื่องจากถั่วมีแร่ธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียมสูง รวมทั้งมีใยอาหารด้วย ทั้งนี้ถั่วมีปริมาณไขมันสูง แม้ว่าไขมันจากถั่วจะเป็นไขมันที่ดี แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้

7. จำกัดไขมันในอาหาร

2 – 3 ส่วน/วัน (น้ำมัน 2 – 3 ช้อนชา) เนื่องจากไขมันส่งผลต่อการเพิ่มความดันโลหิตได้ วิธีการเลี่ยงไขมันคือ เลือกเมนูอาหารที่ปรุงด้วยวิธีที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น การต้ม นึ่ง อบ เป็นต้น เลี่ยงอาหารทอด อาหารใส่กะทิ และเลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น

8. ดื่มนมไขมันต่ำ

นมเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้ นอกจากนี้แคลเซียมจากนมยังสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดี ปริมาณแนะนำคือ 2 – 3 ส่วน/วัน (เช่น นม 2 – 3 แก้ว/วัน) ควรเลือกนมรสจืดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไป

ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง


นอกจากการควบคุมอาหารและดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์แล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ควรทำ ได้แก่ ออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จัดการความเครียดให้ถูกวิธี ทั้งหมดนี้ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเพิ่มความดันโลหิตได้

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ต้องมีการควบคุมปริมาณเครื่องปรุงให้พอเหมาะ ที่สำคัญคือ ลดน้ำตาลและลดโซเดียมลง

บทความอาหารผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

สถานที่จัดจำหน่าย

เริ่มต้นวันใหม่ 🎉 มาเริ่มต้นดูแลสุขภาพกับ Nize Seasonings ผงไนซผงปรุงรสคลีน กับร้านค้าใกล้บ้านคุณ

Tops Market

Gourmet Market

Makro

Golden Place

Villa Market

Lemon Farm

Baimiang

Nize Seasonings Shop