NIZE SEASONINGS ไนซ ซีซันนิ่ง

อาหารโรคไต สำหรับผู้ป่วย

         ผู้ป่วยโรคไตก็สามารถรับประทานอาหารอร่อยได้ แต่ต้องมีการควบคุมปริมาณเครื่องปรุงทุกอย่างให้พอเหมาะ ที่สำคัญคือ ลดโซเดียมลง เราจึงอยากแนะนำ ผงปรุงรสคลีน Nize สูตรโซเดียมต่ำ ( โดยไม่เติมเกลือโพแทสเซียม ) ใส่เมนูไหนก็หอมอร่อย  รสกลมกล่อมจากเครื่องเทศแท้ ๆ สูตรลับที่เราใส่ให้ทั้งหัวใจ ให้ทุกจานโปรดอร่อยไม่ทำร้ายคุณ                       ผลิตจากธรรมชาติ 100 % ไม่ใส่สารเคมีปรุงแต่ง กลิ่น สี รส  ไม่ใส่ผงชูรส  ไม่ใส่สารกันเสีย   หมัก ผัด โรย ทอด ซุป อร่อยปรุงง่าย  สบายใจ ไร้สารปรุงแต่งใด ๆ ปลอดภัยกับผู้ป่วยโรคไตอีกด้วยและวันนี้ไนซผ่านเส้นทางความอร่อยมากว่า 20 สูตร ให้คุณสุขทุกครั้งที่ทำ สนุกทุกครั้งที่เข้าครัว เพราะเราเชื่อว่าสุขภาพดีมาพร้อมรสชาติดีได้เสมอ ไม่ว่าคุณจะเลือกผลิตภัณฑ์ไนซชิ้นไหนจาก เวปไซต์ ของเรา นั่นคือของขวัญสุขภาพสุดพิเศษที่คุณได้มอบให้กับตัวเองและคนที่คุณรัก

Nize Seasonings ผงปรุงรสคลีน 100% เพื่อคนรักสุขภาพ

“เจ้าแรกในไทย” 

HAVE A NIZE LIFE,  HAVE A NIZE MEAL, FOR ALL THE DISHES YOU  LOVE 
เมนูอาหารโรคไต

พัฒนาสูตรโดย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

         ใหม่ !!  ผงไนซ ผงปรุงรสคลีน สูตรโซเดียมต่ำ  จากความตั้งใจกว่า  2 ปี  คิดค้นสูตรผงปรุงรสคลีน เพื่อผู้ป่วยโรคไตสามารถทานได้อย่างสบายใจ  พัฒนาสูตรโดย “ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสาตร์ ”  มีโซเดียมต่ำเพียง 85 มก. ต่อ ช้อนชา  

โดยไม่เติมเกลือโพแทสเซียม โพแทสเซียมต่ำ ฟอสฟอรัสต่ำ สามารถนำไปปรุงได้หลากหลายเมนู  หมัก ผัด ปรุงน้ำซุป ย่าง ต้ม อร่อยง่าย กลมกล่อม ปลอดภัยต่อผู้ป่วย ช่วยให้ทานอาหารได้อร่อยขึ้น เปลี่ยนมื้ออาหารที่จืดชืด ให้มีสีสัน ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

สารบัญเนื้อหา

เมนูอาหารโรคไต
สินค้า
รีวิวลูกค้า
บทความ
สถานที่จำหน่าย

อาหารโรคไต

การคำนวณปริมาณโซเดียมสำหรับผู้ป่วยโรคไต

โรคไตเรื้อรังเป็นสภาวะที่เนื้อไตถูกทำลาย ไตจึงสามารถฟอกหรือขับของเสียออกจากเลือดได้น้อยกว่าปกติ และทำให้ระบบสมดุลของน้ำและเกลือแร่สูญเสียไป ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถชะลอการเสื่อมของไตได้โดยการดูแลโภชนาการ ซึ่งรวมถึงปริมาณเกลือที่ทานด้วย เพราะเมื่อเราทานเค็มมาก เนื้อไตของผู้ป่วยที่เหลือน้อยลงจะต้องรับภาระในการกำจัดของเสียนี้ออกไป

เกลือที่ผู้ป่วยโรคไตควรระวัง

ผู้ที่เป็นโรคไตในระยะแรกนั้นอาจมีอาการไม่มาก จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ทันระวังของกิน จนทำให้มีของเสียคั่งในร่างกายได้ และเป็นการเร่งการทำลายเนื้อไต

โซเดียม โดยปกติแล้ว คนไทยทานโซเดียมเฉลี่ยวันละ 3,000 – 7,000 มิลลิกรัมซึ่งมากกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวันนั่นคือ 2,300 มิลลิกรัม และในผู้ป่วยโรคไตไม่ควรทานโซเดียมเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม

อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงเช่น ผงชูรส, ผงปรุงรส, น้ำปลาร้า, ซีอิ๊วขาว, น้ำพริก และ อาหารหมักดอง เช่น ไข่เค็ม แหนม แฮม เบคอน กระเทียมดอง หรืออาหารบางชนิดเราอาจคิดว่าไม่เค็มจัด แต่อันที่แล้วมีปริมาณโซเดียมแฝงอยู่เยอะมาก เช่น อาหารที่มีรสเปรี้ยวนำ เช่น ต้มยำ, แกงส้ม หรือยำ

เราอาจยึดตารางช่อง 1 ช้อนโต๊ะเป็นหลัก หรือเราสามารถอ่านปริมาณโซเดียมข้างฉลากของเครื่องปรุงรสและนำมาคำนวณปริมาณการใช้ในอาหารได้ เช่น

  • เราจะใส่ซีอิ๊วครึ่งช้อนโต๊ะ ก็นำ 1,360 มาหาร 2 ก็จะได้ปริมาณโซเดียมของเกลือในอาหารจานนั้นๆ
  • ถ้าเราใส่เครื่องปรุงอย่างอื่นอีก ก็นำมาบวกเพิ่มเข้าไป

ลดโซเดียม ผู้ป่วยโรคไตก็มีสุขภาพดีขึ้นได้ อร่อยด้วย

เมนูโรคไต

การปรับสูตรอาหาร

ผู้ป่วยโรคไตหลาย ๆ ท่านอาจคิดว่าเราคงหมดโอกาสได้ทานของอร่อย ๆ แล้ว แต่อันที่จริงการที่เราทานเค็มแล้วรู้สึกอร่อยนั้น นั่นเกิดจากการที่สมองของเราคุ้นชินกันรสชาติ ในระยะเริ่มต้นเราอาจปรับปริมาณเครื่องปรุงรสลงเพียง 20-30% ก่อน ซึ่งการลดลงเพียงเล็กน้อยนี้ ลิ้นของเราจะยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง และค่อยๆลดลงจนอยู่ในปริมาณโซเดียมที่ควรควบคุมต่อวัน

การใช้ส่วนผสมอื่น ๆ ช่วยลดเค็ม เช่น การใช้เครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม เช่น กระเทียม, ขิง, ข่า หรือตะไคร้ จะช่วยให้อาหารรสชาติน่าทานขึ้น โดยไม่ต้องใช้เครื่องปรุงรสมากเท่าเดิม และหากเราทานนอกบ้าน เราจะต้องไม่ปรุงรสเพิ่มจากเดิม หรือหากทานเป็นก๋วยเตี๋ยวก็ไม่ควรทานน้ำซุปมากเกินไปเพราะมีปริมาณโซเดียมเข้มข้นมาก

ทำอาหารทานเองในบ้านดีที่สุด

การควบคุมโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคไตนั่นคือ การทำอาหารทานเองที่บ้าน เพราะเราสามารถควบคุมปริมาณเครื่องปรุงทุกอย่างที่เราจะปรุงลงไปได้

 

ทำไมถึงต้องใช้ NIZE ผงปรุงรสคลีน

  • หมัก. ผัด. โรย. ปรุงน้ำซุป
  • อร่อย ปรุงง่าย ประโยชน์อัดแน่น
  • ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ 100%
  • ไม่ใส่ผงชูรส 
  • ไม่ใส่สารกันเสีย
  • ไม่แต่งกลิ่นและสีสังเคราะห์ใดๆ
  • โซเดียมต่ำ ( ไม่เติมเกลือโพแทสเซียม )
  • โพแทสเซียมต่ำ ฟอสฟอรัสต่ำ
  • มี เครื่องหมาย อย. ปลอดภัย

ภาพตัวอย่างการอ่านฉลากโซเดียม

การใช้ผงปรุงรสบางชนิด เช่น ผงปรุงรสคลีน Nize seasonings ซึ่งจะใช้เครื่องเทศมาช่วยเสริมรสชาติ และลดโซเดียมลงกว่า 75% ทำให้น่าทานมากขึ้น โดยไม่ต้องปรุงรสเกลือ, น้ำปลาเพิ่ม วันนี้เรายกตัวอย่างวิธีคำนวณปริมาณโซเดียมในอาหารให้ดูกันค่ะ

ข้อควรระวังในการอ่านฉลากสำหรับผู้ป่วย : ฉลากอาหารจะมีทั้งฉบับเต็ม และฉบับย่อ โดยฉบับเต็มจะแสดงรายละเอียดมากกว่าฉบับย่อ โดยเฉพาะกลุ่มแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ และฉลากของอาหารแต่ละชนิดอาจไม่ได้แสดงคุณค่าทางโภชนาการทั้งหมด เช่น ค่าฟอสฟอรัส ค่าโพแทสเซียมที่ฉลากอาหารบางชนิดอาจไม่ได้แสดงแต่ ไม่ได้หมายถึงว่าไม่มีฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมผสมอยู่ เพียงแต่ไม่ได้แสดงหรือไม่ได้ตรวจ ดังนั้นผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโพแทสเซียม เช่น ผู้ป่วยโรคไตต้องให้ความระมัดระวังอย่างมาก

ตารางเปรียบเทียบ เมนูหมูกระเทียมพริกไทยดำ

จะเห็นได้ว่าสูตรทั่วไปที่เราทาน เพียงแค่มื้อเดียวก็ได้รับปริมาณโซเดียมมากเกือบเท่าปริมาณที่ควรได้รับต่อวันแล้ว (2,000 มิลลิกรัม) ซึ่งหากเราลดปริมาณเครื่องปรุงเหล่านี้หรือใช้ผงปรุงรสคลีน หรือ Nize seasonings แทน ก็จะช่วยลดปริมาณโซเดียมในมื้ออาหารลงไปได้มากทีเดียว

และถ้าเราสังเกตกระเทียมซึ่งเป็นเครื่องเทศชูรสชาตินั้น จะมีปริมาณโซเดียมน้อยมาก ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยโรคไต และ Nize seasonings เองก็ใช้ส่วนผสมธรรมชาติเหล่านี้มาทำให้อาหารรสชาติอร่อยมากขึ้นค่ะ

ผงไนซ สูตรพริกไทยดำ

ตารางเปรียบเทียบ เมนูลาบไก่

ผงไนซ สูตร ลาบอีสานแซ่บ
เมนูอาหารโรคไต

จะเห็นได้ว่าสูตรที่ใช้ Nize seasonings สูตรลาบอีสานแซ่บ มีปริมาณโซเดียมน้อยลงกว่าสูตรปกติถึง 4.7 เท่า และยังสะดวกสบายต่อการใช้งานอีกด้วย เพราะเราไม่ต้องเตรียมข้าวคั่ว, พริกป่นหรือน้ำมะนาวเองเลย เพียงแค่ซองเดียวก็ครบ อร่อยถูกใจ แถมสุขภาพดีอีกด้วย แต่ถ้าใครยังติดรสน้ำปลาหอมๆ ก็อาจเหยาะเพิ่มนิดนึง เพื่อรสชาติที่แซ่บนัวยิ่งขึ้นค่ะ

สอบถาม สั่งซื้อสินค้า คลิกเลย

“ผงปรุงรสคลีน NIZE ใส่ เมนูอาหารโรคไต ก็อร่อย”

ผู้ป่วยโรคไตก็สามารถรับประทานอาหารอร่อยได้ แต่ต้องมีการควบคุมปริมาณเครื่องปรุงทุกอย่างให้พอเหมาะ ที่สำคัญคือ ลดโซเดียมลง ผงปรุงรสคลีน Nize กรุ่นกริ่นความหอม รสกลมกล่อมจากเครื่องเทศแท้ๆ สูตรลับที่เราใส่ให้ทั้งหัวใจ ให้ทุกจานโปรดอร่อยไม่ทำร้ายคุณ ลดโซเดียมลง 70% ไม่มีน้ำตาล หมัก ผัด โรย ทอด น้ำซุป อร่อยปรุงง่าย ไร้สารปรุงแต่งใดๆ 100%

– Nize Seasonings
healthy & Tasty

เมนูอาหารโรคไต

วันนี้เราจะมาแนะนำเมนูสำหรับผู้ป่วยโรคไต อาหารโรคไต เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง และที่สำคัญคือ ลดโซเดียมลงถึง 70% แต่ยังคงความอร่อย น้องไนซรับประกัน

เมนูโรคไต
Dinner

ปลาทับทิมลวกยำตะไคร้

เปลี่ยนเมนูปลาทับทิมจืดๆ ให้มีรสชาติยำ อร่อยกลมกล่อม พร้อมกับเครื่องสมุนไพรไทย หอมๆ อร่อย มีประโยชน์ ทั้งสีสันน่ารับประทาน  แถมทำง่ายแสนง่ายแค่มีผงไนซ

ผงไนซ สูตรยำจี๊ดจ๊าด
Appetizer

ไข่ขาวผัดพริกไทยดำ

หอมพริกไทยดำ ชวนน่ารับประทาน เพิ่มอรรถรสให้มื้ออาหาร เมนูไข่ขาวผัดพริกไทยดำที่ทั้งอร่อยและมีประโยชน์  ใช้ผงไนซ ตัวช่วยเครื่องปรุงที่ต้องมีติดครัว

ผงไนซ สูตรพริกไทยดำ
Breakfast

ข้าวต้มปลา

เมนูมื้อเช้า ทำเองได้ง่ายๆ ข้าวต้มปลา  ซดอุ่นๆสบายท้องโปรตีนดีจากเนื้อปลา อุดมไปด้วยประโชยน์

ผงไนซ สูตรโซเดียมต่ำ
Breakfast

ปลาทับทิมสมุนไพร

ปลาเนื้อขาว ๆ นุ่ม ๆ มาเสิร์ฟกันแล้วจ้า กับเมนูปลาทับทิมสมุนไพรราดซอสมะขามเปียก วัตถุดิบเตรียมง่ายไม่ยุ่งยาก หอมเครื่องสมุนไพร อร่อย ง่าย โซเดียมต่ำ

ผงไนซ สูตรผงกะหรี่
Dinner

ข้าวผัดกุ้ง

เมนูนี้ทำง่ายเว่อ และอาจเป็นเมนูโปรดของใครหลาย ๆ คนด้วย เชื่อสิว่าทำเองดีกว่าเพราะอยากได้กุ้งตัวใหญ่แค่ไหนก็ได้ อยากใส่กี่ตัวก็ได้ ฟินกันไปยาว ๆ

ผงไนซ สูตรต้นตำหรับ
Lunch

ยำไข่ขาวไก่กรอบสมุนไพร

อร่อยกลมกล่อม ด้วยผงยำจี๊ดจ๊าด ของไนซ

เปลี่ยนเมนูเดิม ๆ ของไข่ขาวให้ทานง่าย

ทานได้ทุกวันไม่มีเบื่อ ทั้งหอมเครื่องสมุนไพร ทั้งมีประโยชน์ ห้ามพลาดเลย เมนูนี้ !! 

ผงไนซ สูตรยำจี๊ดจ๊าด
Breakfast

ไข่ขาวราดหน้าเปรี้ยวหวาน

อีกเมนูที่ไม่ควรพลาด โปรตีนจากไข่ขาวสำหรับผู้ป่วยโรคไต นำมาทำเป็นเมนูแสนอร่อย ไข่ขาวราดหน้าเปรี้ยวหวาน แถมไม่น่าเบื่อ ทานได้ง่ายๆ ไม่ทำลายไต

ผงไนซ สูตรครัวไทย
LUNCH

ผัดบวบไข่ขาว

ผัดบวบไข่ขาว บวบนุ่มๆผัดเคลือบด้วยไข่ขาว ปรุงรสด้วย NIZE ผงปรุงรสคลีน สูตรโซเดียมต่ำ อร่อยลงตัว ทำง่ายๆ

ผงไนซ สูตรโซเดียมต่ำ

เครื่องปรุงอาหารสุขภาพ

สั่งซื้อสินค้า สอบถามเพิ่มเติม คลิกที่นี่

คลิปรีวิวจากลูกค้า

กลุ่มเมนูอาหารสุขภาพดี

วิธีรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคไต

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

ได้แก่ ข้าว / แป้ง, เนื้อสัตว์, ผัก, ผลไม้, น้ำมัน และต้องได้รับพลังงานเพียงพอ โดยในแต่ละมื้อควรมีอาหารหลากหลาย

2. ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

ได้แก่ การลดหวาน, ลดมัน, ลดเค็ม เพื่อควบคุมโรคที่มีผลกระทบต่อไต

3. ควบคุมปริมาณเนื้อสัตว์

เพราะเนื้อสัตว์มีปริมาณโปรตีนสูง หากรับประทานมากเกิน จะทำให้ปริมาณของเสียในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ไตทำงานหนัก ปริมาณโปรตีนที่แนะนำ คือ 0.6 – 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือขึ้นอยู่กับระยะของโรค และควรเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพสูง ได้แก่ เนื้อปลา เนื่องจากมีไขมันต่ำ มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง, ไข่ขาว, เนื้อหมู, เนื้อไก่ (ไม่ติดหนัง / มัน), นมไขมันต่ำ เป็นต้น

4. ข้าว / แป้ง เป็นแหล่งพลังงานสำคัญ

เช่น ข้าวเจ้า ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว มักกะโรนี เป็นต้น แต่ในแป้งเหล่านี้ยังมีโปรตีนอยู่บ้าง ในกรณีจำกัดโปรตีนต่ำมากๆ อาจต้องใช้แป้งปลอดโปรตีน เช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ เพิ่มเติมจากข้าวได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ให้ใช้น้ำตาลเทียมแทน

5. ไขมัน

ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ และจำกัดไขมันอิ่มตัวทั้งจากพืชและสัตว์ เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม มันหมู รวมถึงไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียม เนยขาว ในเบเกอรี่ต่างๆ แนะนำให้ใช้น้ำมันชนิดที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง ในการประกอบอาหาร

6. จำกัดโซเดียมในอาหาร

กรณีความดันโลหิตสูงหรือมีอาการบวม ต้องจำกัดปริมาณโซเดียม หากใช้ซีอิ๊วปรุงอาหารได้ประมาณ 3 ช้อนชา/วัน เลี่ยงอาหารรสเค็มจัด รวมถึงอาหารแปรรูป, อาหารหมักดอง, อาหารตากแห้งต่างๆ และอาหารกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ ไส้กรอก, แฮม, เบคอน, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยวต่างๆ เป็นต้น

7. เครื่องเทศ และสมุนไพร

ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องจำกัดปริมาณโซเดียมต่ำมาก อาจส่งผลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยลง แนะนำให้ใช้เครื่องเทศ และสมุนไพร เป็นตัวแต่งกลิ่นอาหาร ให้อาหารมีกลิ่น และรสชาติ ที่น่ารับประทานมากขึ้น เช่น หอมแดง ใบมะกรูด กระเทียม ใบโหระพา ข่า ใบแมงลัก ตะไคร้ เป็นต้น

8. น้ำ

น้ำเปล่าเหมาะกับผู้ป่วยโรคไตมากที่สุด หรือหากอยากดื่มน้ำสมุนไพร ต้องไม่หวานจัด เช่น น้ำใบเตย น้ำอัญชัน น้ำเก๊กฮวย น้ำกระเจี๊ยบ เป็นต้น หากมีความดันโลหิตสูง หรืออาการบวม ต้องจำกัดน้ำดื่ม ไม่เกิน 700 – 1,000 ซีซีต่อวัน เพราะความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตจะลดลง

9. ข้อปฏิบัติอื่นๆ

เช่น งดบุหรี่ เหล้า กาแฟ ระวังมิให้ท้องผูกด้วยยา เพราะเมื่อขับถ่ายยากมีผลให้ความดันโลหิตขึ้น และยังมีผลทำให้ร่างกายดูดซึมโปแตสเซียมมากขึ้น อีกทั้งควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และนอนหลับสนิท ส่วนสารอาหารอื่นๆ อาจต้องมีการปรับและควบคุมตามอาการของโรค โดยการไปพบแพทย์และตรวจเลือดเป็นระยะๆ เพราะจะเป็นตัวช่วยบอกว่าควรจำกัดสารอาหารใดบ้าง เช่น

  • หากมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์ ต้องหลีกเลี่ยง ผักสีเขียวเข้ม หรือสีเหลืองเข้ม เช่น บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง ผักที่รับประทานได้ เช่น ฟักเขียว บวบ แตงกวา มะเขือยาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องเลี่ยงอาหารที่ใช้โปแตสเซียมเป็นส่วนประกอบในสารปรุงแต่งอาหารหลายชนิด เช่น “ด่าง” ที่ใช้ใส่ใน แป้งบะหมี่ แป้งเกี๊ยว เพื่อให้แป้งมีลักษณะ “เหนียว” ผู้ป่วยที่มีภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง จึงควรงดอาหารกลุ่มนี้ รวมทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบรรจุซองด้วย
  • หากมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงเกินเกณฑ์ ต้องหลีกเลี่ยง ไข่แดง (ควรทานแต่ไข่ขาว) นมทุกรูปแบบ ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็ง เมล็ดพืช เช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดทานตะวัน ฯลฯ งดอาหารที่ใช้ยีสต์เพราะมีฟอสเฟตสูง เช่น ขนมปังปอนด์ แป้งซาลาเปา หมั่นโถว โดนัท งดอาหารที่ใช้ผงฟู เช่น เค้ก คุ้กกี้ ซาลาเปา โดนัท
  • หากมีระดับยูริกในเลือดสูงเกินเกณฑ์ ต้องหลีกเลี่ยงแหล่งอาหารที่มีพิวรีนมาก เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด, ปีกสัตว์, น้ำสกัดจากเนื้อสัตว์, ยอดผักอ่อนๆ พวกยอดตำลึง, ยอดฟักแม้ว, ยอดฟักทอง, หน่อไม้ฝรั่ง รวมถึงต้องรับประทานอาหารไขมันต่ำด้วย เพราะอาหารไขมันสูงทำให้กรดยูริกขับถ่ายทางปัสสาวะได้ไม่ดี

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยโรคไต ต้องเริ่มปรับพฤติกรรมการบริโภคตั้งแต่ตรวจพบว่าเป็นโรค โดยอาจให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการควบคุมอาหาร รวมถึงการมาพบแพทย์ตามนัด เพื่อความต่อเนื่องในการวางแผนรักษา หรือการพบนักโภชนาการเพื่อช่วยกันวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อชะลอความเสื่อมของไตลงได้

บทความอาหารโรคไต

สถานที่จัดจำหน่าย

เริ่มต้นวันใหม่ 🎉 มาเริ่มต้นดูแลสุขภาพกับ Nize Seasonings ผงไนซผงปรุงรสคลีน กับร้านค้าใกล้บ้านคุณ

Tops Market

Gourmet Market

Makro

Golden Place

Villa Market

Lemon Farm

Baimiang

Nize Seasonings Shop